ลักษณะรอยร้าวบ้าน และวิธีแก้ไข

206 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลักษณะรอยร้าวบ้าน และวิธีแก้ไข

1. รอยร้าวผนังแบบแตกลายงา
รอยร้าวผนังแบบแตกลายงาพบได้บ่อยมาก โดยรอยร้าวลักษณะนี้ไม่เป็นอันตราย ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างภายใน แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเพราะเมื่อเกิดฝนตก ผนังจะกักเก็บความชื้นไว้ ทำให้ผนังบวม เกิดปัญหาสีลอกร่อน และเชื้อราได้ แนะนำให้อุดด้วยโป๊ว 

2. รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง หรือแบบเฉียงกลางผนัง
หากบ้านหรืออาคารเริ่มมีรอยร้าวที่มีลักษณะเป็นแนวทแยงเฉียงกลางผนังแสดงให้เห็นว่าบ้านหรืออาคารกำลังเกิดปัญหาที่ฐานรากของตัวบ้านหรืออาคาร เช่น เสาทรุดตัวจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่าเดิม โดยรอยร้าวลักษณะนี้เป็นผลมาจากการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านหรืออาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการคำนวณการรับน้ำหนักที่ดี จึงเป็นปัญหารอยร้าวที่ต้องรีบจัดการโดยทันที เพราะอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ผนังบ้านพังทลายลงมาได้ ควรรีบปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

3. รอยร้าวเฉียง ๆ ตามมุมขอบวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของวงกบที่มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมอย่างอุณหภูมิ  แต่ถ้าอุณหภูมิลดลงก็ทำให้โครงสร้างมีการหดตัวได้ ทั้งนี้ รอยร้าวประเภทนี้จัดเป็นรอยร้าวที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือกระทบถึงโครงสร้างภายใน จึงสามารถซ่อมแซมได้เองโดยใช้ โพลียูริเทน,ซีลแลนท์

4. รอยร้าวผนังแนวดิ่งกลางคาน
เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาโครงสร้างบ้าน เกิดได้จากการที่คานรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้หินหรืออิฐภายในผนังดันตัวจนเกิดเป็นรอยร้าว การคำนวณน้ำหนักโครงสร้างที่ผิดพลาด ทำให้บ้านรับน้ำหนักได้ต่ำกว่ามาตรฐาน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้เป็นอันตราย ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมโดยด่วน และทำการย้ายของจากชั้นบนลงมาเพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักในเบื้องต้นก่อน

5. รอยร้าวแนวเฉียงที่หัวเสาไปจนถึงคาน
พบได้ทั้งแบบแนวเฉียง หรือแนวดิ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นกับปลายทั้งสองข้างของคาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว หรือรับน้ำหนักมากเกิน ทำให้เสาและคานแยกตัวออกจากกัน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้อันตราย อาจทำให้บ้านทรุด ถล่มลงมาได้ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยด่วน

6. รอยร้าวบนพื้น
สังเกตรอยร้าวบนพื้นซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น พื้นแอ่นตัว คอนกรีตอาจมีการยืดและหดตัวตามสภาพภูมิอากาศ หากเป็นรอยร้าวลึกให้ระมัดระวังในเรื่องของการรั่วซึม เพราะอาจส่งผลต่อโครงสร้างของเหล็กภายในที่อาจก่อให้เกิดสนิม และแตกร้าวออกมาได้

วิธีแก้ไขบ้านร้าว
หากพบรอยร้าวในบ้าน ควรรีบตรวจสอบและแก้ไขโดยเร็ว เพราะรอยร้าวอาจลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ ก่อนย้ายเข้าบ้านใหม่ จึงควรตรวจเช็กให้ดี ๆ ดังนี้

1. ตรวจเช็กบ้านใหม่อย่างละเอียดก่อนย้ายเข้าอยู่อาศัย โดยอาจจ้างวิศวกรมาตรวจประเมิน

2. สังเกตรอยร้าวบริเวณผนัง พื้น ฝ้าเพดาน หากพบรอยร้าว ควรวัดขนาดและลักษณะของรอยร้าว

3. หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่หรือมีความยาวมาก ควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อตรวจสอบและแก้ไข เพื่อความปลอดภัย


ขอบคุณข้อมูลจาก

บริษัท พอดี แอสเซท โซลูชันส์ จำกัด
รับฝากขาย บ้าน ที่ดิน อสังหาฯ ฟรีค่าการตลาด
พร้อมยื่นกู้ทุกธนาคาร ดูแลงานจนจบ ครบวงจร
------------------------------
 LINE : @pordeeasset
 Call Center : 099-397-9695
 Facebook : Pordee Asset
 Website : www.pordeeasset.com
------------------------------
#PordeeAsset #พอดีแอสเซท
#อยากขายบ้าน #ฝากขายบ้าน #ตัวแทนขายบ้าน #นายหน้าขายบ้าน #บ้านมือสอง #ขายบ้านเดี่ยว #ขายบ้านแฝด #ขายทาวน์เฮ้าส์ #ขายทาวน์โฮม #ขายคอนโด #ขายที่ดิน #ขายอสังหา #ลดค่าโอน #กู้ซื้อบ้าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้